น.ส.จิราพันธ์ รักษ์นุ้ย รหัส 61450048


ทฤษฏี  Henry L. Gantt
หลักการและแนวคิด
ประวัติความเป็นมา
            นักทฤษฎี เฮนรี่  แอล  แกนต์  (Henry L. Gantt ) เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1861 (พ.ศ. 2404) 
ใน รัฐแมรี่แลนด์ (Maryland) ประเทศสหรัฐอเมริกา  Gantt เป็นวิศวกรเครื่องกล
                           Gantt เป็นที่รู้จักดีที่สุดในการพัฒนาวิธีการอธิบายแผนโดยกราฟเรียกว่า Gantt Chart หรือ แผนภูมิแกนต์  Gantt ได้ประดิษฐ์แผนภูมิ (Gantt Chart) ออกมาในปี ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2460)  ขึ้นเพื่อใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับเวลา ใช้แก้ปัญหาเรื่องการจัดตารางการผลิต การควบคุมแผนงานและโครงการการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ Gantt เน้นความสำคัญของเวลาเช่นเดียวกับต้นทุนในการวางแผนและการควบคุมงาน ทำให้ผัง Gantt  มีชื่อเสียง และนำมาใช้อย่างกว้างขวาง เป็นรูปแบบของเทคนิคในปัจจุบัน แผนภูมิจะแสดง ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องกระทำกับระยะเวลาหรือเวลาสำหรับการปฏิบัติงานของกิจกรรมนั้น ๆ 
                          การเขียน Gantt  chart  จะต้องกำหนดเวลาของแต่ละโครงงาน ซึ่งจะแสดงภาพรวมของโครงการนั้น ๆ ทำให้เข้าใจภาพรวมของระบบได้ง่ายบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถทำการตรวจสอบความก้าวหน้าในการวิเคราะห์ระบบการทำงาน ได้อย่างเข้าใจและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นแผนภูมิแกนต์  
                          Gantt chart  มีลักษณะเป็นแถบหรือเส้น  โดยใช้แกนนอนเป็นเส้นมาตราส่วนแสดงเวลาไม่ว่าจะเป็นชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน หรือหน่วยเวลาตามที่นักวิเคราะห์ระบบกำหนด ส่วนแกนตั้งบรรทัดบนสุดจะเป็น ชื่อโครงการ บรรทัดถัดมาจะเป็นรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ หรือขั้นตอนของโครงการซึ่งมักตั้งชื่อง่าย ๆ  ที่สามารถเข้าใจได้ว่าโครงการนั้นทำอะไรขั้นตอนของกิจกรรมหรืองาน หรืออัตรากำลังขององค์การ
                            Gantt chart ใช้ในการวางแผนระยะเวลาที่ใช้ของงานแต่ละงานของโครงการ เราจะเห็นรายละเอียดว่าโครงการนี้มีงานย่อยๆอะไรบ้าง และแต่ละงานใช้เวลาเท่าไหร่ งานไหนมาก่อนมาหลัง

ตัวอย่าง Gantt Chart
โครงการ...................................




                   การนำไปใช้
                 แผนภูมิแกนต์ (Gantt chart) เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายใช้ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งใน  ภาครัฐและภาคเอกชน
          ประโยชน์ของ Gantt chart ที่ได้รับ
                                        1. สามารถนำไปใช้ในการวางแผนและควบคุมติดตามการผลิตหรือการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
                                        2. สามารถบอกได้ว่างานหรือกิจกรรมใด ดำเนินการในช่วงเวลาใดระยะเวลาเร็วที่สุดที่โครงการดังกล่าวจะเสร็จสิ้นเมื่อใด  
                                        3. สามารถใช้ในการบันทึกและดูความก้าวหน้าของงาน วิเคราะห์ความก้าวหน้าของงาน และปรับเปลี่ยนการวางแผนได้ง่าย  

                                4. ขั้นตอนการทำไม่มีการคำนวณที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการทำงาน



น.ส.จิราพันธ์  รักษ์นุ้ย  นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจ

มหาบัณฑิต (M.B.A)  รหัส  61450048
                                     
                        -------------------------------------------------------------------------------------






ความคิดเห็น

  1. สรุป แนวคิดและทฤษฎี ทางการบริหารและนักคิด
    ในรายวิชา องค์การและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (MGT523) ของ ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น
    หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
    1. ทฤษฎีของ Luther Gulick เสนอแนวคิดกระบวนการบริหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ชื่อว่า กระบวนการบริหาร POSDCoRB อันเป็นคำย่อของภาระหน้าที่ที่สำคัญของนักบริหาร 7 ประการ ได้แก่ 1. Planning การวางแผน
    2. Organizing การจัดองค์การ 3. Staffing การจัดบุคลากรปฏิบัติงาน 4. Directing การอำนวยการ
    5. Coordinating การประสานงาน 6. Reporting การรายงาน 7. Budgeting การงบประมาณ

    ตอบลบ
  2. 2. ทฤษฎีของ Frederic W.Taylor การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตด้วยการคิดค้นการทำงานตามหลักวิทยาศาสตร์ชื่อทฤษฎี : การจัดการอย่างมีหลักเกณฑ์/ การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) หลักการที่สำคัญ
    * ต้องสร้างหลักการทำงานที่เป็นวิทยาศาสตร์ โดยใช้หลัก Time and Motion Study แล้วกำหนดเป็น One best Way เพื่อให้เกิดวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมีการเลือกคนให้เหมาะสม * มีกระบวนการพัฒนาคน * สร้าง Friendly Cooperation ให้เกิดขึ้น

    ตอบลบ
  3. 3. ทฤษฎีของ Frank B. Gilbreth & Lillian Gilbreth Lillian Gilbreth สนใจในการทำงานของมนุษย์ ส่วนสามีสนใจในประสิทธิภาพในการทำงาน (การค้นหาวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน) Frank ได้ประยุกต์ใช้การบริหารจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ (Scientific management principles) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
    1) เป็นการวิเคราะห์ทุก ๆ กิจกรรมของแต่บุคคลที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติงานโดยเฉพาะงานที่มีความสำคัญ
    2) เป็นการค้นหาวิธีการที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานเพื่อเป็นกิจกรรมประกอบแต่ละอย่าง
    3) มีการปฏิรูปกิจกรรมที่เป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพได้ คือใช้ต้นทุนและเวลาน้อยที่สุด

    ตอบลบ
  4. 4. ทฤษฎีของ Max Weber เป็นนักทฤษฎีองค์การชาวเอยรมัน ซึ่งอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงำ (Domination) โดยเขาเห็นว่าผู้นำหรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ ขึ้นอยู่กับการที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และจะต้องมีระบบการบริหารมาดำเนินการให้คำสั่งมีผลให้บังคับได้ ส่วนใหญ่ใช้ในระบบราชการ

    ตอบลบ
  5. 5. ทฤษฎีของ Henri Fayol Henri Fayol ได้สรุปเป็นทฤษฎีว่า หากวันหนึ่งคุณต้องอยู่ในสภาวะที่ต้องใช้คนจำนวนมาก ๆ ในการทำงานแล้วละก็หัวใจของการบริหารจัดการเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายนั้น มีองค์ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ POCCC 1. Planning 2. Organizing 3. Commanding 4. Coordinating 5. Controliing

    ตอบลบ
  6. 6. ทฤษฎีของ Elton Mayo ได้ทำการศึกษาทัศนคติและปฏิกิริยาทางจิตวิทยาของคนงานการทำงานตามสถานการณ์ที่ต่างกัน ทำการศึกษาทดลองเกี่ยวกับการทำงานของพนักงานขึ้น โดยสนใจปัญหาความเหนื่อย อุบัติเหตุ และการเปลี่ยนแปลงงานของคนงาน เช่น ความสกปรกของโรงงาน และการถ่ายเทอากาศ เป็นต้น

    ตอบลบ
  7. 7. ทฤษฎีของ Abraham Maslow ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการ (Hierachy of Need Theory) หรือทฤษฎีการจูงใจ (Maslow's Theory of Motivation) หลักการและแนวคิด Maslow เห็นว่าลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์แบ่งออกเป็น 5 ลำดับ ต่อไปนี้ 1. ความต้องการทางร่างกาย (Physiological Needs)
    2. ความต้องการทางด้านความปลอดภัย (Safety Needs) 3. ความต้องการทางด้านสังคม (Social Needs)
    4. ความต้องการที่จะมีฐานะเด่นหรือชื่อเสียง (Esteem Needs)
    5. ความต้องการที่จะให้ประสบความสมหวังในชีวิต (Self-Actualization Needs)

    ตอบลบ
  8. 8. ทฤษฎีของ Frederick Herzberg ทฤษฎีสองปัจจัย (Two-factors Theory) หรือทฤษฎีการจูงใจของเฮิร์กเบิร์ก (Herzberg's Theory of Motivation) หลักการและแนวคิด Herzberg ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการทำงาน ของบุคลกรในองค์การ โดยศึกษาถึงทรรศนะคติของบุคคลที่มีต่อการทำงานเพื่อหาทางที่จะลดความไม่พอใจในการทำงาน เพื่อที่จะทำให้คนงานมีความรู้สึกที่ดีในการที่จะพยายามเสริมสร้างผลผลิตของงานให้มากขึ้น เขาพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่องานแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ 1. ปัจจัยจูงใจ (Motivates Factors) เป็นปัจจัยกระตุ้นให้คนทำงาน โดยเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ดีที่จะเกิดขึ้นกับพนักงาน อันจะทำให้พนักงานมีความพึงพอใจเกี่ยวกับงานที่จะทำ 2. ปัจจัยอนามัย (Hygiene or Maintenance Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่จะสร้างความไม่พอใจในการทำงานให้กับพนักงาน ซึ่งจะเป็นตัวสกัดกั้นไม่ให้เกิดแรงจูงใจใน การทำงานขึ้นได้ หรือเป็นข้อกำหนดเบื้องต้นที่จะป้องกันมิให้คนไม่พอใจในงานที่ทำอยู่

    ตอบลบ
  9. 9. ทฤษฎีของ Douglas Murray McGregor ทฤษฎีเอ็กซ์และทฤษฎีวาย (Theory X and Theory Y) มีฐานในการมองคนที่อยู่ในองค์การแยกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ทฤษฎี X ถือว่า - คนโดยทั่วไปเกียจคร้าน ชอบเลี่ยงงาน
    - ขาดความกรตือรือร้น ไม่มีความรับชอบ ปรารถนาที่จะเป็นผู้ตามมากกว่า - เห็นแก่ตัว เพิกเฉยต่อความต้องการขององค์การ - ไม่ฉลาด
    2. ทฤษฎี Y : เห็นว่า - คนชอบทำงาน ไม่ได้เป็นคนเกียจคร้าน - การควบคุมภายนอก ไม่ใช่เป็นวิถีทางที่จะได้มาซึ่งงาน คนสามารถที่จะหาแนวทางและควบคุมตนเองได้ - ความพึงพอใจที่ได้ปฏิบัติงานเข้ามาตามศักยภาพ เป็นรางวัลที่มีความสำคัญที่จะทำให้คนมีความผูกพันอยู่กับองค์การ - คนโดยทั่วไปจะเรียนรู้เพื่อแสวงหาความรับผิดชอบต่อไป - คนส่วนใหญ่อาศัยภาวะสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาในองค์การ

    ตอบลบ
  10. 10. ทฤษฎีของ Edward Damming กฎข้อบังคับและหน้าที่ของผู้บริหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในนาม ปรัชญาคุณภาพ 14 ข้อของเดมมิ่ง (Deming’s 14 Points) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องยึดถือและปฏิบัติเป็นอันดับแรก
    ปรัชญาคุณภาพ 14 ข้อของเดมมิ่ง (Deming’s 14 Points)
    1. สร้างวัตถุประสงค์แน่วแน่ในการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการ
    2. นำเอาปรัชญาใหม่มาใช้: การไม่ยอมรับความไม่มีคุณภาพ
    3. หยุดใช้หลักการตรวจสอบคุณภาพที่ตัวสินค้า: ปรับปรุงที่กระบวนการทำงาน
    4. หยุดเลือกผู้ส่งมอบสินค้าที่ราคาถูกแต่เลือกโดยเน้นที่คุณภาพ
    5. เป็นหน้าที่หลักของการจัดการที่จะปรับปรุง กระบวนการทำงาน สินค้า และบริการอย่างต่อเนื่อง
    6. จัดให้มีการอบรม
    7. จัดให้มีการพัฒนาผู้นำ: ช่วยเหลือ ชี้แนะ
    8. กำจัดความเกลียดกลัว สอนให้กล้าถาม กล้าเสนอความเห็น กล้าคิดและกล้าทำ
    9. กำจัดอุปสรรคการทำงานระหว่างส่วนงาน: สอนให้ทำงานเป็นทีม โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายองค์กรมากกว่าวัตถุประสงค์ของสายงานหรือส่วนงาน
    10. เลิกใช้ Slogan ภาพรวมสำหรับพนักงาน: หากพนักงานทำงานเป็นทีมและต้องการมี Slogan ของทีม องค์กรต้องยอมให้ทำได้
    11. เลิกเน้นที่จำนวนตัวเลข: เน้นที่คุณภาพ
    12. กำจัดอุปสรรคที่ไม่เอื้อต่อการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย: ไร้ภาวะผู้นำ ขาดการการอบรมที่เพียงพอ ขาดเครื่องมือ หรือกระบวนการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
    13. จัดให้มีการให้ความรู้และอบรมแก่พนักงานทุกระดับทั้งผู้บริหารและพนักงานต้องมีการอบรมเรื่อง Total quality เครื่องมือทางสถิติ และการทำงานเป็นทีม
    14. ลงมือทำ เพื่อให้การปรับเปลี่ยนองค์กร: คุณภาพเป็นเรื่องของทุกคน ทั้งผู้บริหารสูงสุด จนถึงพนังงานระดับล่างสุด ผู้นำต้องมีความมุ่งมั่นและสนับสนุนเรื่องคุณภาพ
    วงจร PDCA หรือ วงจรเด็มมิ่ง
    PLAN วางแผน - วางแผนการปฏิบัติงาน - วางแผนการดำเนินงาน - วางแผนการปรับปรุงงาน
    DO ปฏิบัติ - ทำให้ถูกต้อง - ตรวจสอบทุกขั้นตอน
    CHECK ตรวจสอบ - ตรวจสอบวิธีการ - ตรวจสอบระยะเวลา - ประเมินผลการดำเนินงาน
    ACTION ปรับปรุง - ประสบความสำเร็จ - ข้อบกพร่อง - การปรับปรุง

    ตอบลบ
  11. 11. ทฤษฎีของ Michael Hammer ว่าการรื้อปรับระบบ หมายถึง การพิจารณาหลักการพื้นฐานของธุรกิจและการคิดหลักการขึ้นใหม่ ชนิดถอนรากถอนโคน ปรับกระบวนการธุรกิจใหม่เพื่อให้บรรลุถึงผลลัพธ์ของการปรับปรุงอันยิ่งใหญ่ คือ เป้าหมายขององค์กร โดยใช้ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ทันสมัยและสำคัญที่สุดใน 4 ด้าน คือ ต้นทุน คุณภาพ การบริการ และความเร็ว โดยมีคำศัพท์ที่เป็นหัวใจสำคัญของรื้อปรับระบบ 4 คำศัทพ์คือ
    1. การรื้อปรับระบบ * Rethink * Redesign * Retools * Rehumaneering

    ตอบลบ
  12. 12. ทฤษฎีของ Peter F.Drucker ปรมาจารย์ทางด้านการจัดการผู้นำเสนอความรู้ใหม่ให้กับโลกธุรกิจและด้านการจัดการออกมาเป็นระยะๆ ซึ่งครั้งใดที่เขาออกมาแสดงบทบาทมักจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้ง นักบริหารธุรกิจในภาคเอกชน ภาครัฐ และรวมทั้งนักบริหารจากองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และนำแนวคิดนั้น มาวางแผนบริหารธุรกิจของตนเอง

    ตอบลบ
  13. 13. ทฤษฎีของ Oliver Sheldon แนวความคิดของเขาในการพยายามชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างการจัดการ (Management) และการบริหาร (Administration) นอกจากนี้ยังได้นำแนวความคิดด้านจริยธรรมทางสังคม เข้ามาผสมผสานกับการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ เขาได้กระตุ้นให้องค์การทางธุรกิจจำหน่ายสินค้าควบคู่กับ การบริการด้วย และได้เสนอแนวความคิดว่าหลักการจัดการทางอุตสาหกรรมที่ดีจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการบริการเพื่อสังคม จากแนวความคิดนี้ได้กลายมาเป็นวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจในยุคปัจจุบันในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจุดนี้เองทำให้การจัดการยกย่องและยอมรับความเป็นวิชาชีพ

    ตอบลบ
  14. 14. ทฤษฎีของ Harrington Emerson มีแนวคิดได้นำเอาวิธีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มาบริหารงาน คือ การบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์นั้น จะต้องมีการค้นพบ และทดลองเป็นอย่างดีว่า วิธีการนั้น ได้ผลจริง เมื่อประเมินผล สามารถบอกได้ว่า อะไรเกิดขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อไหร่ จึงนำเอาข้อมูลเหล่านั้น มากำหนดเป็นหลักการบริหาร ใช้เพื่อปรับปรุงการจัดการกับประสิทธิภาพของคน โครงสร้าง และเป้าหมายขององค์กร เพื่อผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล องค์ประกอบของหลักประสิทธิภาพ 12 ประการ
    1. กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน (Clearly defined ideals)
    2. ใช้หลักเหตุผลทั่วไป พิจารณาจากความน่าจะเป็นไปได้ของงาน (Common sense)
    3. ให้คำแนะนำที่ดี ที่ถูกต้องสมบูรณ์ (Competent counsel)
    4. รักษาระเบียบวินัยในการทำงาน (Discipline)
    5. .ปฏิบัติงานด้วยความยุติธรรม (Fair deal)
    6. มีข้อมูลพร้อมทำงานที่เชื่อถือได้ (Reliable information)
    7. .มีการรายงานผลการดำเนินงานทุกระยะ (Dispatching)
    8. มีมาตรฐานงานเสร็จตามเวลา (Standard and Schedule)
    9. ผลงานได้มาตรฐาน (Standardized condition)
    10. ดำเนินงานถือเป็นมาตรฐานได้ (Standardized operation)
    11. มาตรฐานที่กำหนดสามารถปฏิบัติได้ (Standardized directing)
    12. ให้บำเหน็จรางวัล แก่ผู้ปฏิบัติงานดี (Efficiency reward)

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น